แชร์ 8 วิธีดูแลหูฟังออกกำลังกาย ยังไง ให้สะอาดใช้ทน

แชร์ 8 วิธีดูแลหูฟังออกกำลังกาย ยังไง ให้สะอาดใช้ทน

เวลาที่เราออกกำลังกาย สิ่งที่จะทำให้เราไม่หลุดโฟกัสจากการออกกำลังกาย และทำให้เรารู้สึกเพลิดเพลินกับการเล่นเพิ่มมากยิ่งขึ้น นั่นก็เป็นเพราะเรามีหูฟังที่จะช่วยเปิดเพลงให้ราได้ฟัง หรือเปิดฟังเสียงบรรยายการออกกำลังจากแอปพลิเคชันสำหรับคนเล่นฟิตเนส ในบทความนี้ เราจึงมี 8 วิธีดูแลหูฟังออกกำลังกาย ที่จะช่วยดูแลรักษาหูฟังของเราให้ใช้งานได้นานขึ้น แม้ว่าคุณจะใช้งานสมบุกสมบันแค่ไหนก็ตาม จะมีวิธีการดูแลรักษายังไง ให้สะอาด และทนทาน ตาม insighttechnologyth ไปดูกันเลย

8  วิธีดูแลหูฟังออกกำลังกาย

8  วิธีดูแลหูฟังออกกำลังกาย

วิธีที่ 1 เช็ดหูฟังทุกครั้ง หลังออกกำลังกายเสร็จ 

หลังจากที่คุณออกกำลังเสร็จ จะต้องทำความหูฟังให้สะอาดก่อนเก็บทุกครั้ง เพราะในระหว่างที่เรากำลังออกกำลังกาย หูฟังของเราก็จะพบเจอกับเหงื่อ และคราบสกปรกต่าง ๆ ที่ติดบริเวณหูฟัง เราจึงควรใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ มาเช็คทำความสะอาดตัวหูฟัง เพื่อทำความสะอาด และเอาเหงื่อออกให้สะอาด แล้วค่อยช้ผ้าแห้งมาเช็ดตามอีกที ค่อยเก็บหูฟัง เนื่องจากเหงื่อของเรานั้นมีความเป็นกรด และหากเราไม่เช็ดออก เหงื่อก็จะค่อย ๆ กัดหูฟังของเราได้ ส่วนสิ่งสกปกรกก็ต้องได้รับการกำจัดออก เพราะไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นแหล่งสะสมสิ่งสกปรก และอาจจะเข้าไปสู่ร่างกายผ่านทางหูได้

ธีที่ 2 ใช้จุกยางให้ถูกกับประเภทกีฬา

หูฟังออกกำลังกายจะมีความอึด ถึก และทนกว่าหูฟังทั่ว ๆ ไป จึงสามารถใช้งานกับการออกกำลังกายได้หลากหลายประเภท แต่ที่สำคัญเลยคือ จุกยางที่จะใช้สวมเข้ากับหูฟังนั้น จะต้องใช้จุกยางที่เหมาะสมกับประเภทของกีฬาด้วย ยกตัวอย่างเช่น หูฟังออกกำลังกายรุ่น Sony NW-WS413 ที่เป็นหูฟังออกกำลังกายที่สามารถใส่ว่ายน้ำได้ แต่ต้องเปลี่ยนจุกในการใช้งานให้ถูกต้อง ไม่เช่นนั้น น้ำอาจจะเข้าเครื่อง และเกิดการเสียหายได้

วิธีที่ 3 จับขั้วหูฟังตอนถอด

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้หูฟังแบบมีสาย เวลาที่ถอดสายหูฟังออกจากโทรศัพท์ หรือเครื่องฟังเเพลง เวลาถอดสายหูฟังออก คุณควรจับที่บริเวณขั้วของหูฟังก่อน แล้วค่อยดึงถอดออกมา อย่างดึงที่สายหูฟังโดยตรง เพราะอาจจะทำให้สายหูฟังชำรุด หรือพังได้นั่นเอง

วิธีที่ 4 ไม่เปิดเพลงเสียงดังจนเกินไป

การเปิดเพลงฟังระหว่างออกกำลังกายจะทำให้คุณออกกำลังกายได้นานขึ้น แต่ไม่ควรที่จะเปิดเพลงดังจนเกิน เพราะอาจจะส่งผลเสียต่อหูฟังได้แล้ว ยังผลกระทบที่อาจจะเป็นอันตรายต่อหูของเราด้วยเช่นกัน ดังนั้น คุณควรที่จะฟังเเพลงด้วยระดับความดังที่พอเหมาะ ไม่ดังเกินไปจะดีกว่า หากต้องใส่หูฟังเพื่อฟังเพลงเป็นเวลานาน ๆ 

วิธีดูแลหูฟังออกกำลังกาย วิธีที่ 5 มีกล่องหรือกระเป๋าสำหรับเก็บหูฟังโดยเฉพาะ

แนะนำบทความ : แบตสำรองน้ำหนักเบา พกพาง่าย ชาร์จเต็มไว ความจุเยอะ

วิธีที่ 5 มีกล่องหรือกระเป๋าสำหรับเก็บหูฟังโดยเฉพาะ

เพื่อให้หูฟังของเราสามารถใช้งานได้นานขึ้น คุณควรหากล่องหรือกระเป๋าสำหรับเก็บหูฟังโดยเฉพาะ ไม่วางทิ้งไปทั่ว เพราะจะทำให้เราหาไม่เจอแล้ว ยังเป็นการสะสมสิ่งปกปรกให้กับหูฟังของเราได้อีกด้วย 

วิธีที่ 6 จัดเก็บหูฟังให้เป็นระเบียบ

นอกจากจะต้องมีกล่องหรือกระเป๋าในการจัดเก็บแล้ว สำหรับคนที่ใช้หูฟังแบบมีสาย จะต้องเก็บสายหูฟังให้เป็นระเบียบเรียบร้อยด้วยนะ เวลาใช้งานครั้งต่อไป จะได้สามารถหยิบมาใช้งานได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลามานั่งแกะสายหูฟังที่พันกันไปมา และพยายามเก็บสายเป็นลักษณะวงกลมจะดีกว่าเก็บลักษณะอื่น ๆ เพราะหากสายหักหรือพันกันมากไป อาจจะทำให้สายขาดได้

วิธีที่ 7 ลดเสียงเบส เพื่อปกป้องหูไม่ให้เสียหาย

อย่างที่เราแนะนำไปในข้อที่ 4 เรื่องของระดับความดังในการเปิดเพลง เสียงเบสก็เช่นเดียวกัน คุณจะต้องเปิดเสียงเบสในระดับที่พอดี ไม่ดัง หรือเร่งมากเกินจนหูฟังและหูของเราไม่สามารถจะรับเสียงได้ จะส่งผลกระทบต่อหูของเป็นเป็นอย่างมาก แถมทำให้หูฟังของเราพังเร็วขึ้นอีกด้วย

วิธีที่ 8 หลีกเลี่ยงการเก็บหูฟังไว้ในที่มีอากาศร้อน และชื้น

นอกจากการจัดเก็บให้เป็นที่ จัดเก็บให้เป็นระเบียบไว้ในกล่องหรือกระเป๋าแล้ว คุณจะต้องเก็บหูงฟังไว้ในที่ที่ไม่ร้อนหรือชื้น เพราะจะทำให้หูฟังเสื่อมสภาพ และมีอายุการใช้งานสั้นลงได้นั่นเองเป็นอย่างไรกันบ้างกับทั้ง 8 วิธีในการดูแลรักษาความสะอาดของหูฟังออกกำลังกาย และยืดอายุการใช้งาน ให้หูฟังสามารถใช้งานได้นานยิ่งขึ้น ไม่ต้องเสียเงินซื้อใหม่บ่อย ๆ และไม่ทำร้ายหูของเราให้เป็นอันตรายอีกด้วย มีใครเคยใช้วิธีเหมือนกับเรากันบ้าง หรือใครที่ไม่เคยดูแลหูฟัง และใส่ใจเรื่องการใช้งานเลย อย่าลืมนำวิธีดูแลหูฟังออกกำลังกายที่เรานำมาฝาก ไปลองปรับใช้ดูนะ มันดีอย่างแน่นอน รับประกันเลย

แนะนำบทความ : เคล็ดลับ วิธีวางลำโพงให้เสียงดีง่าย ๆ

เวลาที่เราออกกำลังกาย สิ่งที่จะทำให้เราไม่หลุดโฟกัสจากก…